เหล้าอะวาโมริ คืออะไร
เอกลักษณ์ของเหล้าอะวาโมริคืออะไร ?
เหล้าอะวาโมริ เป็นเหล้ากลั่นที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น ว่ากันว่ามีประวัติยาวนานประมาณ 600 ปี
เป็นการนำข้าวไทย(ข้าวอินดิกา) มาผลิตข้าวโคจิ และหมักโดยการเติมน้ำและยีสต์ แล้วจึงกลั่นแบบทับ ซึ่งเป็นวิธีที่ทำกันมามากกว่า 600 ปี ที่แทบจะไม่เปลี่ยนแปลงเลย
ข้าวโคจิสีดำและข้าวไทย
เอกลักษณ์ของเหล้าอะวาโมริอยู่ที่ “ข้าวโคจิสีดำ”
จากการสร้างกรดซิตริกเป็นจำนวนมากในกระบวนการผลิตเหล้า ข้าวโคจิสีดำจึงมีจุดเด่นอยู่ที่ความสามารถในการยับยั้งการเน่าเสียที่เกิดจากเชื้อโรค ด้วยประสบการณ์ที่สั่งสมมาเป็นเวลายาวนาน บรรพบุรุษของชาวโอกินาว่ารู้ดีว่า ข้าวโคจิสีดำนั้นเหมาะที่สุดสำหรับการผลิตเหล้าในโอกินาว่า ซึ่งเป็นเขตที่อบอุ่นและชุ่มชื้น
นอกจากนี้ จากลักษณะพิเศษของข้าวอินดิกาของไทย(ข้าวที่มีลักษณะเรียวยาว) ที่มีเนื้อแข็งและลื่น(ไม่เหนียว) ซึ่งช่วยให้ข้าวโคจิสีดำยืดเส้นใยได้ง่าย(ผลิตข้าวโคจิได้ง่าย) เหล้าอะวาโมริจึงมีกลิ่นและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์
การหมักด้วยข้าวโคจิทุกขั้นตอน
“การหมักด้วยข้าวโคจิทุกขั้นตอน” จะใช้ข้าวไทยเป็นวัตถุดิบ โดยการผสมข้าวโคจิสีดำกับข้าวเพื่อผลิตข้าวโคจิ แล้วจึงเติมน้ำและยีสต์ลงไปเพื่อผลิตโมโรมิ และหมักประมาณ 2 สัปดาห์เพื่อให้ได้แอลกอฮอล์ วิธีนี้เป็นการผลิตเหล้าอะวาโมริที่เรียบง่ายและมีเอกลักษณ์
การกลั่นจะใช้ “หม้อต้มกลั่นสุราแบบทับ”
หม้อต้มกลั่นสุราแบบทับ ทำให้ส่วนประกอบในโมโรมิรวมอยู่ในไอน้ำในปริมาณที่พอเหมาะ จึงช่วยให้เหล้ากลั่นคงรสชาติที่ดีของวัตถุดิบเอาไว้ได้ทั้งหมด
เหล้าโคะชุ(คูซุ)
ลักษณะเด่นที่สุด คือการเก็บรักษาระยะยาว เพื่อบ่มส่วนประกอบให้มีรสชาตินุ่มละมุนและมีกลิ่นหอม เหล้าอะวาโมริที่ผ่านการบ่ม 3 ปีขึ้นไป จะเรียกว่าเหล้าโคะชุ(คูซุ)
เหล้าอะวาโมริสามารถบ่มเป็นเวลานาน 100 หรือ 200 ปี เพื่อผลิตเป็นเหล้าโคะชุได้
เหล้าแบบนี้หาที่อื่นใดในโลกไม่ได้ เหล้าโคะชุอายุมากกว่า 100 ปี ส่วนใหญ่สูญเสียไปในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่เหล้าโคะชุอายุ 20 หรือ 30 ปี ที่ผลิตหลังสงครามโลก ซึ่งมีรสชาติกลมกล่อมและกลิ่นหอม ก็เป็นที่นิยมอย่างมาก